แนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน

  


พระราชดำรัส
"พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร"

๑. “...ในการพัฒนาประเทศนั้น จําเป็นต้องทําตามลําดับขั้น เริ่มด้วยการสร้างพื้นฐานคือความมีกินมีใช้ของประชาชนก่อนด้วยวิธีการที่ประหยัดระมัดระวัง แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อพื้นฐานเกิดขึ้น มั่นคงพอควรแล้ว จึงค่อยสร้างเสริมความเจริญขั้นที่สูงขึ้นตามลําดับต่อไป... ก็เพื่อป้องกันความผิดพลาด ล้มเหลวและเพื่อให้บรรลุผลสําเร็จแน่นอนบริบูรณ์...” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2517

๒. “...ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่าทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว จะต้องทอผ้า ใส่เอง อย่างนั้นมันมากเกินไป แต่ในหมู่บ้านหรือในอําเภอ จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ ก็ขายได้แต่ในที่ไม่ห่างไกลเท่าไหร่ ไม่ต้องเสียค่าขนส่ง มากนัก ...มีเงินเดือนเท่าไหร่จะต้องใช้ภายในเงินเดือน...กู้เงินนั้น เงินจะต้องให้เกิดประโยชน์มิใช่กู้สําหรับ ไปเล่น ไปทําอะไรที่ไม่เกิดประโยชน์...” พระราชดํารัสในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๐ 

๓. “...เศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่สองอย่าง...จะทําความเจริญให้แก่ประเทศได้แต่ต้องมี ความเพียร แล้วต้องอดทนต้องไม่ใจร้อน ต้องไม่พูดมาก ต้องไม่ทะเลาะกัน ถ้าทําโดยเข้าใจกัน เชื่อว่า ทุกคนจะมีความพอใจได้...คําว่าพอเพียง มีความหมายว่าพอมีพอกินเศรษฐกิจแบบพอเพียง หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ไม่ต้องขอยืมคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง...คําว่าพอ คนเราถ้าพอใน ความต้องการ มันก็มีความโลภน้อย เมื่อมีความโลภน้อย ก็เบียดเบียนคนอื่นน้อย พอเพียงอาจมีมาก อาจมีของหรูหราก็ได้แต่ว่าต้องไม่ไปเบียดเบียนคนอื่น...” พระราชดํา รัสพระราชทานในโอกาสที่คณะบุคคลเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคล เฉลิมพระชนมพรรษา เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๑ 

๔. "...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มด้วยซ้ำไป...” พระราชดํารัสจากวารสารชัยพัฒนา ประจําเดือนสิงหาคม พ.ศ.๒๕๔๒


๕. “...วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างความเจริญของบ้านเมือง จึงควร สนับสนุนให้มีการค้นคิดเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับภาวะและความต้องการของประเทศขึ้นใช้เองอย่างจริงจัง ถ้าสามารถค้นคิดได้มากเท่าไร จะเป็นการประหยัดและช่วยให้สามารถนําไปใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นเท่านั้น...” พระราชดํารัสพระราชทานเนื่องในงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติเมื่อวันที่ ๑ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๑


๖. “…เราทําแล้วก็หมายความว่าเราไม่เดือดร้อนถึงเวลาเราอายุร้อยสิบแปด ถ้าอย่างไรเราก็ใช้ น้ํามันปาล์มของเราเอง คนอื่นอาจจะไม่ได้ คนอื่นอาจจะไม่มี แต่ว่าเรามี เพราะเราขวนขวายหาวิธีที่จะทําเชื้อเพลิงทดแทนได้ ถ้าไม่ได้ทําเชื้อเพลิงทดแทน เราก็เดือดร้อนแล้วก็เป็นห่วง แต่เราไม่ต้องเป็นห่วง ถ้าคนอื่นเขาไม่ทํา เขาอาจจะไม่มีน้ํามันไบโอดีเซลใช้ แต่ว่าเรามี เราคือข้าพเจ้าทำเอง...” พระราชดํารัสพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรชัยมงคลในโอกาสวันเฉลิม พระพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ 


๗. “…สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลง เขาบอกว่าเพราะมีสารคาร์บอนขึ้นไปในอากาศมาก จะทําให้ เหมือนเป็นตู้กระจกครอบ แล้วโลกนี้ก็จะร้อนขึ้น เมื่อโลกนี้ร้อนขึ้นก็มีหวังว่า น้ําแข็งก็จะละลายลงทะเล และรวมทั้งน้ําทะเลนั้นจะพองขึ้นเมื่อน้ําพองขึ้น ก็จะทําให้ที่ต่ำ เช่น กรุงเทพฯ ถูกน้ําทะเลท่วม จึงได้ข้อมูลว่า สิ่งที่ทําให้คาร์บอนในอากาศเพิ่มมากขึ้นนั้นมาจากการเผาเชื้อเพลิงซึ่งอยู่ในดิน และจากการ เผาไหม้... “…ทําให้จํานวนคาร์บอนมีน้อยลงได้ก็เป็นความจริง ต้นไม้ทั่วโลกในปัจจุบันนี้กินคาร์บอนได้ในอัตรา ๑๑๐ พันล้านต่อปี แต่ถ้าเราดูต่อไปอีกต้นนั้นเองคายคาร์บอนออกมาในอัตราปีละ ๕๕ พันล้านตัน ก็เหลือกําไรเพียงครึ่งเดียว วิธีแก้ไขก็คือต้องเผาน้อยลง และต้องปลูกต้นไม้มากขึ้น...” พระราชดํารัสสิ่งแวดล้อมพระราชทานแก่คณะบุคคลต่างๆ ที่เข้าเฝ้าฯ ถวายชัยมงคลในโอกาสวัน เฉลิมพระชนมพรรษา ณ ศาลาดุสิดาลัย สวนจิตรลดาพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ 


๘. “…ในบ้านเมืองนี้มีทั้งคนดีและคนไม่ดีไม่มีใครที่จะทําให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทําให้ บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทําให้ทุกคนเป็นคนดีหากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดีให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอํานาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้...” พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมชนลูกเสือแห่งชาติค่ายลูกเสือวชิราวุธจังหวัดชลบุรี เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2512 


๙. “…คนไม่มีความสุจริต คนไม่มีความมั่นคงชอบแต่มักง่าย ไม่มีวันจะสร้างสรรค์ประโยชน์ ส่วนรวมที่สําคัญอันใดได้ ผู้ที่มีความสุจริต และความมุ่งมั่นเท่านั้น จึงจะทํางานยิ่งใหญ่ที่คุณเป็นประโยชน์ แท้จริงได้สําเร็จ...” พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 


๑๐. "..การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้.."

พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่25 กรกฎาคม 2506

๑๑. "ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้าน เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน" พระราชดำรัสเนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532

๑๒. "..ผู้หนักแน่นในสัจจะ พูดอย่างไรทำอย่างนั้น จึงจะได้รับความสำเร็จ พร้อมทั้งความศรัทธา เชื่อถือและความยกย่องสรรเสริญจากคนทุกฝ่าย การพูดแล้วทำ คือพูดจริงทำจริง จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการส่งเสริมเกียรติคุณของบุคคลให้เด่นชัด.." พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2540

๑๓. "..การมีเสรีภาพนั้น เป็นของที่ดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นต้องใช้ด้วยความระมัดระวังตามความรับผิดชอบมิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่นที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนร่วมด้วย.." พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ เมื่อวันที่ 9 กรกฎาคม 2514

๑๔. “..การทำความดีนั้น โดยมากเป็นการเดินทวนกระแสความพอใจและความต้องการของมนุษย์ จึงทำได้ยาก และเห็นผลช้า แต่ก็จำเป็นต้องทำ เพราะหาไม่ ความชั่วซึ่งทำได้ง่ายจะเข้ามาแทนที่ แล้วจะพอกพูนอย่างรวดเร็วโดยไม่ทันรู้สึกตัว..” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานกระบี่และปริญญาบัตรแก่ว่าที่ร้อยตำรวจตรีที่สำเร็จการศึกษาชั้นสูงสุด จากโรงเรียนนายร้อยตำรวจ ประจำปีการศึกษา 2528 ณ อาคารใหม่ สวนอัมพร วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2529

๑๕. “..คุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับทุกคนนั้น ที่สำคัญได้แก่ความรู้จักผิดชอบชั่วดี ความละอายชั่วกลัวบาป ความซื่อสัตย์สุจริต ทั้งในความคิดและการกระทำ ความไม่เห็นแก่ตัว ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น ความไม่มักง่ายหยาบคาย กับอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญเป็นพิเศษคือความขยันหมั่นเพียร..” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ณ สวนอัมพร วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ.2522

๑๖. “..ผู้ที่ทำงานให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมย่อมได้รับประโยชน์เป็นส่วนของตนด้วย ผู้ที่ทำงานโดยเห็นแก่ตัว เบียดเบียนประโยชน์ส่วนรวม ย่อมบั่นทอนทำลายความมั่นคงของประเทศชาติ และที่สุดตนเองก็จะเอาตัวไม่รอด..” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ประกาศนียบัตร และอนุปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาต่างๆ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันที่ 16 มกราคม พ.ศ.2512

๑๗. “..สติคือความระลึกได้ว่าอะไรเป็นอะไรนั้นสำคัญมากที่จะช่วยทำให้บุคคลหยุดคิดพิจารณาก่อนที่จะพูด จะทำ หรือแม้จะคิดอ่านในเรื่องใดๆ อีกหนึ่งข้อที่จะช่วยให้ระลึกได้ถูกจุดถูกต้อง ก็คือจิตใจที่ตั้งมั่นและหนักแน่นเป็นกลางเพราะไม่มีอคติ สองสิ่งนี้เป็นคุณสมบัติสำคัญที่สุดของการศึกษาดี มีหน้าที่สูง ที่จะต้องเป็นบุคคลชั้นนำในวงงานต่างๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต..” พระบรมราโชวาท พระราชทานแก่สามัคคีสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์เพื่อเชิญไปอ่านในการประชุมสามัญประจำปี ระหว่างวันที่ 7-8 เมษายน พ.ศ.2527

๑๘.  “..การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมากไม่ค่อยชอบการปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้..” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ.2506

๑๙. “..ผู้มีความสุจริตและบริสุทธิ์ใจ แม้จะมีความรู้น้อย ก็ย่อมทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวมได้มากกว่าผู้มีความรู้มาก แต่ไม่มีความสุจริต ไม่มีความบริสุทธิ์ใจ..” พระราชดำรัส ในโอกาสที่คณะผู้อำนวยการและอาจารย์ใหญ่จากโรงเรียนต่างๆ ในเขตอำเภอดุสิต ‘กลุ่มจิตรลดา’ เข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัย ณ พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน วันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2523

๒๐. “..ความสุขความเจริญแท้จริงนั้น หมายถึงความสุขความเจริญที่บุคคลแสวงหามาได้ด้วยความเป็นธรรม ทั้งในเจตนาและการกระทำ ไม่ใช่ได้มาด้วยความบังเอิญ หรือการแก่งแย่งเบียดบังมาจากผู้อื่น..” พระราชดำรัส ในพระราชพิธีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี พ.ศ.2539

๒๑. “..ความคิดนั้นเป็นแม่บทใหญ่ของการพูดและกระทำ เพราะกิจที่จะทำคำที่จะพูดทุกอย่างล้วนสำเร็จมาจากความคิด การคิดก่อนพูดและก่อนทำจึงช่วยให้บุคคลสามารถยับยั้งคำพูดที่ไม่สมควร ยับยั้งการกระทำที่ไม่ถูกต้อง..” พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2540